เจ้าสัว “คีรี” ยัน “บีทีเอส” ไม่เคยขอขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว!
เมื่อวันที่ 26 ก.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. นายคีรี กาญจพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังงานแถลงข่าวเปิดตัวบริษัท แรบบิท ประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) “แรบบิท ไลฟ์” ภายใต้กลุ่มธุรกิจในเครือของบีทีเอส กรุ๊ป เกี่ยวกับเรื่องการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ยืนยันว่า บีทีเอสไม่เคยขอขยายสัมปทานอะไรทั้งสิ้น สิ่งที่บริษัทตั้งใจจริงๆ คือ ต้องการค่าจ้างติดตั้งระบบเดินรถไฟฟ้า และการจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง อย่าทำเหมือนบีทีเอสเป็นผู้ร้าย หรือจำเลย ซึ่งบีทีเอสเป็นเจ้าหนี้ ไม่มีใครในโลกนี้ที่ติดตั้งระบบฯ และเดินรถให้ โดยออกเงินให้ก่อน และเก็บเงินทีหลัง ปัจจุบันล่วงเลยมา 2-3 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เงินค่าจ้างเลย อย่างไรก็ตามจากการหารือร่วมกับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ก็ทำความเข้าใจกัน และก็ต้องให้เวลาซึ่งกันและกันก่อน เพราะเป็นทีมมาใหม่ ก็ต้องศึกษาข้อมูลก่อน
นายคีรี กล่าวต่อว่า การทำสัญญาว่าจ้างทั้ง 2 ฉบับ เป็นสัญญาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่เป็นสัญญาที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงอยากทราบว่าสัญญาผิดตรงไหน เมื่อรัฐบาลให้เอกชนมีส่วนร่วม สัญญานี้ก็เป็นส่วนร่วมชนิดหนึ่ง และเป็นสัญญาที่ดำเนินการมาประมาณ 10 ปีแล้ว แต่วันนี้เพิ่งจะมามีข้อสงสัย อย่างไรก็ตามบีทีเอสยินดี และเคารพ ซึ่งทาง กทม. มีทีมใหม่ก็ควรเข้าไปศึกษาเรื่องของสัญญาก่อน ส่วนการจะเปิดสัญญาหรือไม่นั้น เจ้าของสัญญาจะเปิดเมื่อไหร่ก็ได้ แต่รัฐบาลควรเปิดสัญญารถไฟฟ้าทุกสายให้เท่าเทียมกัน ซึ่งบริษัทไม่เคยปฏิเสธที่จะไม่เปิดสัญญาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ผมขอยืนยันว่าจะไม่หยุดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว แม้จะต้องจ่ายเงินเองทุกวัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร เพราะหากหยุดเดินรถ ก็ไม่ได้กระทบกับใครที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แต่จะกระทบผู้โดยสาร ผมคำนึงถึงความสะดวกของประชาชน อยากให้รัฐบาลคิดถึงเอกชนผู้ลงทุนบ้าง จะทำอะไรก็ทำ แต่อย่ายืดเยื้อ เพราะเป็นเรื่องที่คุยกันมา 3 ปีแล้ว จะเอาอย่างไรก็บอกมา ผมไม่ได้หาเรื่อง นักการเมืองอาจจะยังเข้าใจผิด หากเข้าใจถูกสักวันเรื่องก็ต้องจบ ผมจะรอถ้าให้ผมรอ แต่ในทางกฎหมายก็ว่ากันไปเรื่อยๆ” นายคีรี กล่าว
นายคีรี ยังกล่าวถึงการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 27 ก.ค.65 ว่า ศาลปกครองพิจารณาและตัดสินคดีไปแล้วว่า การยกเลิกประมูลครั้งแรกไม่ชอบ ก็ไม่ทราบว่าทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะดำเนินการอย่างไรต่อไป สำหรับการกำหนดเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) รถไฟฟ้าสายสีส้มใหม่ รู้สึกว่าทีโออาร์ค่อนข้างผิดแปลกไปจากมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่วนในวันพรุ่งนี้ (27 ก.ค.) บีทีเอสจะยื่นซองประมูลหรือไม่ ยังไม่รู้ อย่างไรก็ตามบีทีเอส เป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนในระบบรถไฟฟ้าเป็นเจ้าแรกของไทย เป็นธุรกิจหลักของบีทีเอส บริหารโครงการระยะทางที่ยาวที่สุด และมีผู้โดยสารต่อวันมากที่สุด ซึ่งเราพร้อมในการลงทุนรถไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่หากกติกาทำให้เราหาผู้รับเหมาไม่ได้ จะประมูลหรือไม่ค่อยว่ากัน.