รู้จัก “จันทรุปราคา” รับปรากฏการณ์ “ราหูอมจันทร์” ครั้งแรกของปี 2567
“ราหูอมจันทร์” ที่คนไทยนิยมเรียกนั้น ที่จริงแล้วเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่อธิบายถึงเหตุการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์ กับดวงจันทร์
ซึ่งมักเกิดขึ้นเฉพาะในวันดวงจันทร์เต็มดวง หรือช่วงข้างขึ้น 14-15 ค่ำส่งผลให้ขณะที่ดวงจันทร์โครจรผ่านเข้าไปในเงามืดหรือเงามัวของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้คนจะเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหรือเห็นเต็มดวงแต่ความสว่างลดลงก่อน
คนไทยสมัยโบราณจึงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ราหูอมจันทร์” นั่นเองคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคา ในคืนวันที่ 24 มีนาคม 2567 เวลา 20.46 น. จนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 02.56 น. จะเกิด “จันทรุปราคาเงามัว” ที่ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
ดังนั้นแล้วจันทรุปราคาเงามัวคืออะไร เราจะได้เห็นดวงจันทร์แบบไหน สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้
รู้จัก “จันทรุปราคา”
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นปีละ 1 – 2 ครั้ง โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
จันทรุปราคาเต็มดวง(Total Lunar Eclipse)
เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก และจะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เนื่องจากแสงขาวจากดวงอาทิตย์จะถูกหักเหเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศโลก สีแดงและสีส้มเบี่ยงทิศทางเข้าหากลางเงามืด จึงมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงระหว่างเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
จันทรุปราคาบางส่วน(Partial Lunar Eclipse)
เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วน โดยจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะเว้าแหว่ง
จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse)คำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1
เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืด เรายังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง แต่ความสว่างลดน้อยลง สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก
อย่างไรก็ตามจันทรุปราคาเงามัวนั้น หาโอกาสดูได้ยาก เพราะโดยทั่วไปดวงจันทร์มักจะผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก หากใครอยากได้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติพิเศษนี้ อยากให้ลองสังเกตบนท้องฟ้ากัน
ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มักตกเป็นข่าวปลอม “ห้ามโดนแสงจันทร์”
ทั้งนี้หลายคนอาจกังวลตามความเชื่อของคนสมัยก่อนที่ว่านี่อาจเป็นลางร้าย ไม่ควรออกจากบ้านไปสัมผัสเงาแสงจันทร์ แต่มีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์หลายคนออกมาชี้แจงแล้วว่า ไม่จริง! สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพียงแต่ว่าก็ไม่ควรออกไปทำกิจกรรมสุ่มเสี่ยง ไม่เช่นนั้นก็อันตรายต่อตัวเราได้ ตามหลักเหตุและผลเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประกาศฉบับที่ 7 รับมือ “พายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง”
วิเคราะห์ฟุตบอลโลก 2026 เกาหลีใต้ พบ ทีมชาติไทย 21 มี.ค.67
ด่วน! ศาลสั่งจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา "ครูปรีชา" คดีฟ้องเท็จ