“คนไทย-ต่างชาติ” นิยมเรียกรถผ่านแอป จี้รัฐลงดาบ “แอปเถื่อน” หยุดบริการ!
ผศ.ดร.สุทธิกร กิ่งเเก้ว ผู้บริหารโครงการวิจัย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยฯ ได้สำรวจความคิดเห็นของคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มีต่อประสบการณ์การใช้บริการรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน หรือบริการ “เรียกรถผ่านแอป” ซึ่งเป็นบริการที่ถูกกฎหมายแล้วในประเทศไทย ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 512 คน โดยผลสำรวจพบว่า กว่า 86% เคยใช้บริการเรียกรถผ่านแอป ในจำนวนนี้ 89.3% เลือกใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันที่ถูกกฎหมาย แอปที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้แก่ AirAsia, Bonku, Cabb, Grab, Hello Phuket, และ Robinhood
นอกจากนี้พบว่า 98.3% รู้สึกพึงพอใจต่อบริการ โดยเฉพาะด้านความสะดวกสบาย ความปลอดภัย มาตรฐานด้านราคา รวมถึงมาตรฐานการให้บริการ โดย 45.9% ชอบที่แสดงราคาล่วงหน้าผ่านแอป และกำหนดราคาตามมาตรฐานของ ขบคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ขณะเดียวกัน 45.1% รู้สึกอุ่นใจในมาตรฐาน และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของแอปเรียกรถ เช่น ระบบติดตามการเดินทาง ระบบคัดกรองและยืนยันคนขับ หรือทำประกันคุ้มครองผู้โดยสาร และ 26% พอใจกับมาตรฐานการให้บริการ เช่น มีระบบคอลเซ็นเตอร์เพื่อให้ความช่วยเหลือ หรือมีระบบการให้คะแนนคนขับ
ผศ.ดร.สุทธิกร กล่าวต่อว่า แม้ผู้ใช้บริการจะพึงพอใจกับบริการเรียกรถผ่านแอป แต่ยังคงต้องการให้พัฒนาปรับปรุงบริการต่อเนื่อง ทั้งมาตรฐานการให้บริการ (27.7%) มาตรฐานด้านความปลอดภัย (21.4%) รวมถึงมาตรฐานของคนขับ (16.7%) เช่น มารยาทการให้บริการ ขณะที่เกือบหนึ่งในสามของผู้ใช้บริการ (31.5%) ต้องการให้ปรับปรุงด้านราคา โดยมองว่าบริการเรียกรถผ่านแอป มีค่าบริการค่อนข้างสูง ขณะที่บางแอป โดยเฉพาะเเอปเถื่อน ไม่มีมาตรฐานด้านราคา เช่น ราคาที่แสดงก่อน และหลังใช้บริการไม่ตรงกัน หรือมีกรณีที่คนขับแอบเปลี่ยนราคาให้ค่าบริการแพงขึ้น นอกจากนี้ยังกังวลต่อมาตรฐานการให้บริการของแอปเถื่อน ซึ่งปัจจุบันมีหลายแอป ให้บริการอยู่ ทั้งๆ ที่ ขบ. ยังไม่ได้รับรอง
เมื่อสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบริการเรียกรถผ่านแอปที่ไม่ได้รับการรับรองจาก ขบ. 45.7% รู้สึกว่าการใช้บริการผ่านแอปเถื่อนมีความเสี่ยงสูง เพราะได้ยินข่าวเกี่ยวกับมิจฉาชีพหรืออาชญากรรมจากการใช้บริการอยู่บ่อยครั้ง ขณะที่ 39.8% รู้สึกกังวลที่จะเลือกใช้บริการ เพราะกลัวว่าหากเกิดปัญหาใดๆ อาจไม่ได้รับการคุ้มครอง หรือไม่มีผู้รับผิดชอบ และ 35.7% มองว่าแอปเหล่านี้ให้บริการอย่างไม่ถูกกฎหมาย ไม่ควรสนับสนุน
ผศ.ดร.สุทธิกร กล่าวอีกว่า ผู้ใช้บริการยังคาดหวังให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ขบ. หรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีมาตรการที่เข้มงวดในการกำกับดูแล และจัดการกับแอปที่ไม่มีมาตรฐานเหล่านี้ โดยผู้ใช้บริการมากกว่าหนึ่งในสาม (35.5%) ต้องการให้ภาครัฐสั่งให้แอปเถื่อนเหล่านี้หยุดให้บริการจนกว่าจะได้รับการรับรอง และลงโทษแพลตฟอร์มผู้ให้บริการแอปเหล่านี้อย่างจริงจัง ขณะที่ 36.9% คาดหวังให้ภาครัฐประชาสัมพันธ์ในวงกว้างเพื่อสื่อสารให้ผู้โดยสาร ทั้งไทยและต่างชาติ รวมถึงคนขับตระหนักถึงความเสี่ยงของการใช้แอปเถื่อน และเกือบครึ่งของผู้ใช้บริการ (46.7%) ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการเพื่อเร่งรัดให้เเอปเถื่อนเหล่านี้เข้าระบบอย่างถูกกฎหมาย และดำเนินการตามมาตรฐานหรือกฎต่างๆ ที่ภาครัฐกำหนด
ผศ.ดร.สุทธิกร กล่าวด้วยว่า สถาบันวิจัยฯ ยังได้สำรวจความคิดเห็นเพิ่มเติมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย และใช้บริการเรียกรถผ่านแอป 25 กลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่คุ้นชินกับการใช้บริการเรียกรถผ่านแอปในไทย เพราะเป็นบริการที่สะดวกสบาย เชื่อมต่อการเดินทางได้โดยไม่สะดุด ตั้งแต่สนามบิน และไม่ต้องกังวลกับปัญหาการโก่งราคา หรือมิจฉาชีพ รวมถึงปัญหาด้านการสื่อสาร เพราะแอปส่วนใหญ่มีระบบแปลภาษาที่ช่วยทำให้สื่อสารกับคนขับได้ง่ายขึ้น สำหรับแอปเรียกรถที่ชาวต่างชาติมักเลือกใช้บริการคือ แอปพลิเคชันที่เคยใช้ในประเทศของตนมาก่อน หรือเป็นแอปพลิเคชันที่แนะนำกันปากต่อปากจากนักท่องเที่ยวด้วยกัน โดยอาจไม่ทราบว่า แอปเหล่านั้นให้บริการอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยหรือไม่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เมื่อถามถึงประสบการณ์เชิงลบที่เคยสัมผัสจากการใช้บริการดังกล่าว พบว่า นักท่องเที่ยวบางส่วนเคยเจอคนขับที่ไม่มีมารยาท ลืมของบนรถแล้วไม่ได้คืน ติดต่อคนขับไม่ได้ รวมถึงราคาของบางแอปพลิเคชันที่สูงขึ้นหลังเดินทางไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เกือบทั้งหมดของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ระบุว่าต้องการใช้เเอปเรียกรถที่ถูกกฎหมาย เพราะกังวลเรื่องมาตรฐาน เเละความปลอดภัย เเต่ก็ยังไม่ทราบว่าเเอปไหนถูกกฎหมาย หรือได้รับการรับรองแล้วในประเทศไทย.